วิธีการแก้ไขและป้องกันภาวะโลกร้อน

วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของประชากรบนโลก เราสามารถช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น

  • อาบน้ำด้วยฝักบัว ประหยัดกว่าตักอาบหรือใช้อ่างอาบน้ำถึงครึ่งหนึ่งในเวลาเพียง 10 นาที ปิดน้ำขณะแปรงฟัน ประหยัดได้เดือนละ 151 ลิตร
  • ใช้น้ำร้อนให้น้อยลง ในการทำน้ำร้อน ใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่น ให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง จะลดคาร์บอนไดออกไซด์์ได้ 159 กิโลกรัมต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็นจะลดคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ปีละ 227 กิโลกรัม
  • ใช้หลอดไฟตะเกียบ ประหยัดกว่าหลอดธรรมดา 4 เท่า ใช้งานนานกว่า 8 เท่า แต่ละหลอดช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 4,500 กิโลกรัม หลอดไฟธรรมดาเปลียนพลังงานน้อยกว่า 10% ไปเป็นแสงไฟ ส่วนที่เหลือถูกเปลี่ยนไปเป็นความร้อน เท่ากับสูญพลังงานเปล่าๆ มากกว่า 90%
  • ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะยังคงกินพลังงานมากแม้จะปิดแล้ว ดังนั้นควรถอดปลั๊กโทรทัศน์ สเตอริโอ คอมพิวเตอร์ ไมโครเวฟ ฯลฯ เมื่อไม่ใช้ หรือเสียบปลั๊กเข้ากับแผงเสียบปลั๊กที่คอยปิดสวิชท์ไว้เสมอเมื่อไม่ใช้ และควรถอดปลั๊กที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือและ MP3 เมื่อไฟเต็มแล้ว
  • ใช้ตู้เย็นแบบ 2 ประตู ขนาดความจุ 400 ลิตร ตั้งอุณหภูมิที่ 3-5 องศา และ -17 - -15 องศาในช่องแช่แข็ง มีประสิทธิภาพในการประหยัดไฟมากที่สุด
  • เปิดแอร์ที่ 25 องศา อุณหภูมิต่ำกว่านี้ใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 5 - 10 %
  • ใช้แล็บท็อปจอแบน ประหยัดไฟมากกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะถึง 5 เท่า จำไว้ screen server และหมวดสแตนบายด์ไม่ได้ช่วยประหยัดไฟ พลังงานที่เสียไปเท่ากับซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ได้ 1 เครื่อง และพริ้นเตอร์เลเซอร์ประหยัดพลังงานมากกว่าอิงค์เจ็ท
  • พกถุงผ้าไปช็อปปิ้งแทนการใช้ถุงพลาสติก แต่ละปีทั่วโลกทิ้งถุงพลาสติกจากซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแสนล้านใบ อย่าลืมว่า ลดขยะเท่ากับลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • ใส่เสื้อผ้าฝ้ายออร์แกนิค และใช้เครื่องใช้รีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้้
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะ เพียงแค่ลดขยะของคุณเอง 10 % จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 545 กิโลกรัมต่อปี
  • ปลูกต้นไม้ ต้นไม้ 1 ต้นดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตันตลอดอายุขัย และรดน้ำช่วงเช้า และกลางคืน ป้องกันการระเหย
  • กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง เพราะการผลิตเนื้อสัตว์ใช้พลังงานและทรัพยากรมากกว่าการปลูกพืชและธัญพืช 18% ของก๊าซเรือนกระจกมาจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ คุณไม่ต้องเป็นมังสวิรัติก็ได้เพื่อที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง ลองไม่กินเนื้อสัตว์สัปดาห์ละครั้ง จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มหาศาล
  • เดินแทนขับ พาหนะใช้น้ำมันถึงครึ่งหนึ่งของโลก และปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ 1 ใน 4 ส่วน การทิ้งรถไว้ที่บ้านแม้เพียงสัปดาห์ละ 1 วันสามารถประหยัดน้ำมันและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากมายภายใน 1 ปี ลองเดิน ขี่จักรยาน นั่งรถกับคนอื่น หรือนั่งรถเมล์หรือรถไฟฟ้าแทน หรือลองดูว่าคุณสามารถทำงานที่บ้าน โดยต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่อข่ายของบริษัทสัปดาห์ละครั้งได้หรือไม่
  • เช็คลมยาง ให้แน่ใจว่ายางรถสูบลมแน่นการขับรถโดยที่ยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติ น้ำมัน ทุกๆ แกลลอนที่ประหยัดได้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 9 กิโลกรัม ยางที่สูบลมไม่พอจะใช้น้ำมันได้ในระยะทางสั้นลง 5%
  • ลด ใช้ซ้ำ และรีไซเคิลให้มากขึ้น ลดขยะของบ้านคุณให้ได้ครึ่งหนึ่งจะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซต์ได้ถึง 1,089 กิโลกรัมต่อปี
    สำคัญที่สุด.. คุณต้องตั้งใจแน่วแน่ว่าจะช่วยหยุดโลกร้อน จำให้ขึ้นใจต้องใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเลือกใช้พลังงานสะอาด

 

 การคัดแยกขยะ

     ในแต่ละวันมีขยะเกิดขึ้นจากกิจวัตรประจำวันของเราแต่ละคน มากน้อยต่างกันตามอายุ เพศ สภาพเศรษฐกิจ รายได้ สถานที่ กิจกรรม ค่านิยม ฯลฯ ขยะที่เราก่อขึ้นมีตั้งแต่เศษอาหาร กระดาษชำระ เศษกระดาษ ถึงพลาสติก ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระเบื้อง อะลูมิเนียม นมกล่อง ถ่านไฟฉาย หลอดไฟใช้แล้ว ฯลฯ จากปริมาณขยะมี่เกิดขึ้นในแต่ละวัน มีประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน เป็นขยะจากคนในเมืองเฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ส่วนในสังคมชนบทปริมาณขยะจะน้อยกว่าคือ เฉลี่ยประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน

     การคัดแยกขยะทำให้เรารู้ว่าควรจะจัดการกำจัดขยะแต่ละประเภทอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและงบประมาณ หรือขยะเช่นใดบ้างที่ควรนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ เนื่องจากขยะของสังคมเมืองมีปริมาณมาก หากไม่คัดแยก ค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะทั้งด้านงบประมาณ คน สถานที่ฝังกลบ การเก็บขน ก็ย่อมต้องสูงตามไปด้วย

     การคัดแยกขยะเพื่อให้สะดวกแก่การนำไปกำจัด หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ใหม่ โดยทั่วไปแยกเป็น 4 ประเภทคือ

ขยะเศษอาหาร
     หรือขยะที่เน่าเสียได้ เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย มีความชื้นมาก ส่งกลิ่นเหม็นได้อย่างรวดเร็ว ขยะประเภทนี้กำจัดและนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยการหมักทำปุ๋ย ใช้ในการเกษตรได้ ตัวอย่างขยะเศษอาหาร เช่น เศษผักผลไม้ เปลือกผลไม้ เนื้อสัตว์ เศษอาหาร ฯลฯ

ขยะรีไซเคิล
     หรือขยะยังใช้ได้ ขยะประเภทนี้บางส่วนสามารถแยกนำมาแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นการประหยัดพลังงานและทรัพยากร ได้แก่ แก้ว พลาสติก กระดาษ กระป๋องอะลูมิเนียม กระป๋องเหล็ก เศษผ้า ฯลฯ

ขยะพิษ/อันตราย
     ถือเป็นขยะอันตรายที่จำเป็นต้องแยกทิ้งต่างหาก เนื่องจากสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น ติดไฟง่าย ระเบิดได้ มีสารกัดกร่อน ขยะพิษ ได้แก่ ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ กระป๋องยาฆ่าแมลง เครื่องสำอาง น้ำมันเครื่อง ภาชนะน้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ ฯลฯ

ขยะที่ต้องทิ้ง
     เป็นขยะที่ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ และไม่สามารถแยกเป็นประเภทต่างๆ ได้ขยะทั้ง 3 ประเภทข้างต้น ทำให้ต้องทิ้งเพื่อให้รถมาเก็บขนไปทำลายหรือกำจัดต่อไป เช่น เศษกระจกแตก เปลือกลูกอม ซองขนม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ฯลฯ

 


 


ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม
222 หมู่ 8 ต.หนองงูเหลือม อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา 30000
  โทร. 0-4420-7558  โทรสาร 0-4450-7558 ต่อ 26, 089-845-9171 
Email: saraban_06303203@dla.go.th 
Copyright © 2011 All Rights Reserved. Powered by Allweb Technology